Top

โครงการพัฒนาหลักสูตร E-Learning

โครงการพัฒนาหลักสูตร E-Learning

การพัฒนาหลักสูตรการควบคุมยาสูบในระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน เป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นจาก หน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง อันเป็นหน่วยวิชาการที่ประกอบด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยรามคําแหง มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร พิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี ในฐานะสถาบันหลักของสภาการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งเป็นภาคีของหน่วยวิชาการที่ทําให้เกิดกิจกรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนด้านการควบคุมยาสูบ โดย มีภารกิจในการพัฒนาและผลักดันให้ นักสาธารณสุขทั้งในระดับวิชาการและวิชาชีพ มีศักยภาพในการควบคุมยาสูบ ซึ่งสอดคล้องไปกับพันธกรณีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก มาตรา 12 และมาตรา14 ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติด้านการควบคุมยาสูบ ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ.2566-2570 ในแผนที่ 1

กิจกรรมในครั้งนี้สภาการสาธารณสุขชุมชนได้พิจารณาอนุมัติหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องฯไว้ สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการอบรมครั้งนี้ จํานวน 6 หน่วยคะแนนตาม หนังสือที่ ศ.น.สธช.01/7 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 สภาการสาธารณสุขชุมชน โดยทางหน่วยวิชาการฯ จะได้จัดเตรียม ไฟล์วิดีทัศน์ จํานวน 6 หัวข้อ และข้อสอบ สําหรับ จัดทํา Pre-Test และ Post Test เสนอต่อทาง ศจย. เพื่อขอการสนับสนุนการพัฒนาระบบ E-Learning ใน WEBSITE ของ ทาง ศจย.ต่อไป โดยขอความอนุเคราะห์ทาง ศจย.ช่วยเตรียมระบบ

หลักการและเหตุผลในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมยาสูบให้แก่ สมาชิกสภาการสาธารณสุขชุมชน

ปัญหาเรื่อง ยาสูบ จัดเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ที่สําคัญระดับโลก ดังจะเห็นได้จากองค์การอนามัยโลก ได้มีการออก กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก เพื่อให้เป็นแนวทางในการควบคุมยาสูบให้กับประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีเพื่อการนําไปประยุกต์ใช้ภายในประเทศ ซึ่งการควบคุมยาสูบ (Tobacco Control) จัดเป็น 1 ในบริบทงานทางด้านสาธารณสุข ทั้งในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบําบัดการเสพติด ซึ่งจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งขณะนี้ในหลายวิชาชีพทางด้านสุขภาพได้หันมาให้ความสําคัญด้านงานควบคุมยาสูบ ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล เทคนิคการแพทย์ กายภาพบําบัด หรือแม้แต่วิชาชีพสัตวแพทย์ก็ตาม

ดังนั้น ในฐานะที่วิชาชีพสาธารณสุขชุมชนที่เน้นการทํางาน “สร้างนําซ่อมสุขภาพ” การควบคุมยาสูบจึงจัดเป็น 1 ในบริบทงานที่นักสาธารณสุขชุมชนพึงมีศักยภาพเพื่อการรับใช้สุขภาพของมวลชนให้ปลอดจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้กิจกรรมสอดคล้องไปกับประกาศสภาการสาธารณสุข เรื่อง คุณสมบัติ ประเภท การรับรองสถาบันที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง การรับรองหลักสูตรและหรือกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและการกําหนดหน่วยคะแนน พ.ศ.2564 โดยเป็นไปตามข้อ 18 กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ในข้อ 18.1 กิจกรรม

วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ให้มีองค์ความรู้ด้านการควบคุมยาสูบเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ในระดับพื้นที่และชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
สมาชิกสภาการสาธารณสุขชุมชนที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน จํานวนขั้นต่ำ500 คนขึ้นไป/สมาชิกสภาการสาธารณสุขชุมชน/วิชาชีพอื่นๆ ที่สนใจงานด้านการควบคุมยาสูบ/ประชาชนทั่วไป

สถานที่ดําเนินการจัดโครงการ
จัดอบรมเป็นระบบออนไลน์ และมีการบันทึกวิดีทัศน์ จํานวน 6 หัวข้อ เพื่อให้สมาชิกสภาการสาธารณสุขชุมชนสามารถเข้ารับการชมย้อนหลังได้ และพัฒนาเป็นระบบการเรียน E-Learning ให้สมาชิกสภาการสาธารณสุขที่มีใบอนุญาตสามารถเก็บคะแนนการฝึกอบรมได้ โดยฝากระบบไว้ใน WEBSITE

คณะทำงาน หน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง

null

ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร

ผู้จัดการหน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง
null

ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย

ศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบ (พศย.)
null

ผศ.ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ ลอยสมุทร

นักวิชาการประจำหน่วยวิชาการ (เชี่ยวชาญด้านสื่อและภาษาศาสตร์)
null

อ.จุฑาทิพย์ คงปั้น

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
null

ดร.อลงกรณ์ เปกาลี

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
null

ดร.สุภา วิตตาภรณ์

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
null

ผศ.ดร.วรรณภา นาราเวช

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
null

อ. ชวินทร มัยยะภักดี

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
null

รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
null

กันยารัตน์ ธวัชชัยเจริญยิ่ง

หน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาคเหนือ
null

ผศ.สุนารี ทะน๊ะเป็ก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
null

อ.นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
null

ผศ.ดร.ณรงค์ ใจเที่ยง

คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
null

ผศ.ดร. สมตระกูล ราศิริ

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
null

อ.ดร.ปริญญา จิตอร่าม

กรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน
null

อ.บุญเรือง ขาวนวล

คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
null

ดร.สนอง คล้ำฉิม

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
null

อ.วิเชียร จิตต์พิศาล

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสร้างสุข พังงา

ชื่อวิทยากร

  1. ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ที่ปรึกษาหน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง
  2. อ.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  3. อ.ดร.ปริญญา จิตอร่าม มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  4. อ.ดร.สุภา วิตตาภรณ์ มีใบอนญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  5. อ.ดร.อลงกรณ์ เปกาลี มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  6. อ.นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  7. ผศ.สุนารี ทะน๊ะเป็ก มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
  8. ผศ.ดร. สมตระกูล ราศิริ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน

เอกสารอ้างอิง สําหรับการศึกษาเพิ่มเติม

  • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 5 เคล็ดลับง่ายๆในการช่วยคนเลิกบุหรี่สําหรับ อสม. เอกสารเผยแพร่. นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, ผลิตภัณฑ์ยาสูบ :
  • นโยบายและมาตรการการควบคุมเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และ อัมพร กรอบทอง (บรรณาธิการ).
  • แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับการบําบัดโรคเสพยาสูบในประเทศไทย สําหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์. 2564. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และ รณชัย คงสกนธ์. ตําราบุหรี่และยาสูบพิษภัยการดูแลรักษาและป้องกัน. เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ (แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย). ฉบับปรับปรุง. นครปฐม: สินทวีกิจพรินติ้ง. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ และคณะ. (2553). รู้จักอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล, 54 หน้า.
    พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. (2560). สํานักควบคุมการบริโภคยาสูบม กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25 หน้า.
  • รายงานสรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ 5 มิติ. (2558). กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล, 83 หน้า.
  • รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย (2562). กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล, 130 หน้า.
    Framework Convention on Tobacco Control (FCTC) กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อ “มาตรการทางกฎหมายกับการดําเนินการสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่”, 2565
  • Advocacy Institute Washington DC. “Nine Questions” A strategy planning tool for advocacy campaigns Adapted from Jim Shultz of the democracy center [Internet]. [Cited 2018 Apr 14]. Johns Hopkins Bloomberg Scholl Public Health. “A” frame for advocacy [Internet]. 2006 [cited 2018 Apr 17].

โครงการพัฒนาหลักสูตร E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนด้านการควบคุมยาสูบ